วันพุธที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2551

eLearning


eLearning


eLearning ดร. ชุณหพงศ์ ไทยอุปถัมภ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตีพิมพ์ในนิตยสาร DVM ปีที่ 3 ฉบับที่ 12 JANUARY-FEBRUARY 2002 หน้า 26-28
นิยามและความหมาย
ความหมายของคำว่า e-learning หรือ Electronic Learning ในปัจจุบันค่อนข้างแตกต่างกันออกไปตามแหล่งที่มาและการนำไปใช้ แต่กล่าวโดยทั่วไปแล้ว e-learning หมายถึง รูปแบบการเรียนการสอนแบบใหม่ ที่มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสื่ออิเล็กทรอนิกส์สมัยใหม่ มีวัตถุประสงค์ที่เอื้ออำนวยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้องค์ความรู้ (knowledge) ได้โดยไม่จำกัดเวลาและสถนที่ (Anywhere-Anytime Learning) เพื่อให้ระบบการเรียนการสอนเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และเพื่อให้ผู้เรียนสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของกระบวนวิชาที่เรียนนั้นๆ
อย่างไรก็ตาม รูปแบบการเรียนรู้ในลักษณะ e-learning หลายคนยังเข้าใจผิดคิดว่าเป็นเพียงกระบวนการเปลี่ยนสื่อและเอกสารประกอบการสอนเดม ที่อยู่ในรูปสื่อกระดาษ (Paper base ) แผ่นใสหรือหนังสือ แปลงให้อยู่ในรูปสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (electronic format) เช่น แฟ้มข้อมูลชนิด Microsoft Word หรือ Microsoft PowerPoint หรือแปลงเป็นเว็บเพจแล้วนำเสนผ่านทางอินเทอร์เน็ต หรือเก็บไว้ในสื่อ CD-ROM จากนั้น ให้ผู้เรียนไปเรียนรู้เอง เป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการสอนแบบ e-learning ซึ่งแนวความคิดนี้ยังเป็นความเข้าใจผิดอย่างยิ่งนะครับ
การนำระบบ e-learning มาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพในกระบวนการสอนสูงสุดนั้น ผู้สอนจำเป็นอย่างยิ่งว่า รูปแบบการเรียนการสอนแบบ e-learning แตกต่างจากระบบการเรียนการสอนในรูปแบบปกติที่เรียกกันว่า face-to-face หรือ traditional classroom learning อย่างไร และจำเป็นที่ต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นด้านการปรับปรุงเรื่องเนื้อหา เทคโนโลยี เทคนิคการนำเสนอและการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพ การนำระบบ e-learning เข้ามาใช้ และต้องระลึกไว้อยู่เสมอว่าคุณภาพการเรียนรู้ของระบบ e-learning ต้องไม่ด้อยไปกว่าคุณภาพการเรียนรู้ในรูปแบบปกติ
คำศัพท์ต่างๆที่เกี่ยวข้อง
· การเรียนการสอนทางไกล (Distance Education)
โดยปกติแล้ว การเรียนการสอนทางไกล เป็นศัพท์ที่ใช้เรียกกรสอนระยะทางไกลสู่ผู้เรียนหนึ่งคน หรือมากกว่าในสถานที่ต่างกัน
การเรียนการสอนแบบทางไกล เป็นระบบการเรียนการสอนที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีหลายๆอย่าง เช่น ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์การประชุมทางไกลชนิดภาพ/เสียง รวมถึงเอกสารต่างๆเพื่อเข้าถึงผู้เรียนที่อยู่ทางไกล หน่วยงานที่มีชื่อว่า National Center for Education Statistics(NCES) ของประเทศสหรัฐอเมริกา ได้จัดแบ่งยุคต่างๆของเทคโนโลยีที่ใช้ในระบบการเรียนการสอนแบบทางไกลไว้เป็น 4 ยุค ด้วยกัน แสดงในตารางที่ 1 ตอน
รูปแบบของการเรียน
ในสิ่งแวดล้อมชั้นเรียนปกติ
ในแบบเรียนในระบบ e-learning
เรียนรู้จากการฟัง (Learning by listening)
ผู้เรียนนั่งฟังบรรยายในชั้นเรียน
ใช้ระบบวีดิทัศน์ออนดีมานต์ผ่านทางเว็บเพจที่ผู้เรียนสามารถเรียกดูเมื่อใดก็ได้หรือสามารถเก็บไฟล์ไว้ดูเอง
เรียนรู้จากการค้นคว้า(Discovery learning)
ผู้เรียนค้นคว้าจากห้องสมุดหรือค้นหาจากสิ่งตีพิมพ์ต่างๆ
ใช้การค้นหาผ่านทางเว็บ เช่น Search Engines ต่างๆการค้นคว้าแบบนี้ค่อนข้างจะให้ผลที่บางครั้งดีกว่าการค้นคว้าจากห้องสมุดปกติ
เรียนรู้จากการปฏิบัติ (Learn by doing)
ปฏิบัติการในห้องทดลอง หรือการปฏิบัติจริงในสถานการณ์ ต่างๆ รวมถึงการเขียนรายงานการสร้างบางสิ่งบางอย่างตามจุดประสงค์
ใช้การเรียนรู้แบบโมดูลการใช้แบบจำลองออนไลน์(Online Simulation) ที่เป็นทั้งระบบปฏิสัมพันธ์(Interactive) กับผู้ใช้ รวมถึงการเขียนรายงานส่งออนไลน์ การวิจารณ์ต่างๆส่งผ่านอออนไลน์
เรียนรู้จากการโต้ตอบ หรือ สนทนาในชั้นเรียน (Learn Through Discussion and Debate)
เช่นในวิชาสัมมนาที่ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้จากการสนทนา และโต้ตอบในชั้นเรียนส่วนใหญ่และจะไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ หากมีผู้เรียนจำนวนมาก
ใช้ระบบกระดานถาม-ตอบอิเล็กทรอนิกส์ ช่วยให้การสนทนาดีกว่าในสิ่งแวดล้อมที่เป็นชั้นเรียนปกติ เมื่อผู้เรียนมีจำนวนมาก
HOME / CAI / ELEARNING / AUTHORWARE / TIPS / NEWS / ARTICLES / ABSTRACTS BOOKS / GLOSSARY / DOWNLOAD / LINKS / FORUM / GUESTBOOK / CONTACT / ABOUT

Copyright © 2001 Nip Emarath Sister Sites: ThaiStudent & ThaiTeacher Last Update: July 24, 2002 Questions? webmaster@thaicai.com

ที่มาwww.krucai.com

ไม่มีความคิดเห็น: