วันพุธที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ความแตกต่างระหว่างภาษาพูดกับภาษาเขียน

ความแตกต่างระหว่างภาษาพูดกับภาษาเขียน

เป็นการยากที่จะตัดสินว่า คำใดเป็นภาษาพูด คำใดเป็นภาษาเขียน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกาลเทศะในการใช้คำนั้นๆ บางคำก็ใช้เป็นภาษาเขียนอย่างเดียว บางคำก็ใช้พูดอย่างเดียว และบางคำอยู่ตรงกลางคืออาจเป็นทั้งภาษาพูดและภาษาเขียนก็ได้ ความแตกต่างระหว่างภาษาพูดกับภาษาเขียนพออธิบายได้ดังนี้
๑. ภาษาเขียนไม่ใช้ถ้อยคำหลายคำที่เราใช้ในภาษาพูดเท่านั้น เช่น เยอะแยะ โอ้โฮ จมไปเลยแย่ ฯลฯ
๒. ภาษาเขียนไม่มีสำนวนเปรียบเทียบหรือคำสแลงที่ยังไม่เป็นที่ยอมรับในภาษาเช่น ชักดาบ พลิกล็อค โดดร่ม
๓. ภาษาเขียนมีการเรียบเรียงถ้อยคำที่สละสลวยชัดเจน ไม่ซ้ำคำหรือซ้ำความโดยไม่จำเป็น ในภาษาพูดอาจจะใช้ซ้ำคำหรือซ้ำความได้ เช่น การพูดกลับไปกลับมา เป็นการย้ำคำหรือเน้นข้อความนั้นๆ
๔. ภาษาเขียน เมื่อเขียนเสร็จเรียบร้อยแล้ว ผู้เขียนไม่มีโอกาสแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ แต่ถ้าเป็นภาษาพูด ผู้พูดมีโอกาสชี้แจงแก้ไขในตอนท้ายได้ นอกจากนี้ยังมีข้อแตกต่างระหว่างภาษาพูดและภาษาเขียนอีกหลายประการ คือ
๑) ภาษาเขียนใช้คำภาษามาตรฐาน หรือภาษาแบบแผน ซึ่งนิยมใช้เฉพาะในวงราชการหรือในข้อเขียนที่เป็นวิชาการทั้งหลายมากกว่าภาษาพูด เช่น
ภาษาเขียน – ภาษาพูด ภาษาเขียน – ภาษาพูด ภาษาเขียน - ภาษาพูด
สุนัข หมา สุกร หมู กระบือ ควาย
แพทย์ หมอ เครื่องบิน เรือบิน เพลิงไหม้ ไฟไหม้
ภาพยนตร์ หนัง รับประทาน ทาน,กิน ถึงแก่กรรม ตาย,เสีย
ปวดศีรษะ ปวดหัว เงิน ตัง(สตางค์) อย่างไร ยังไง
ขอบ้าง ขอมั่ง กิโลกรัม,เมตร โล,กิโล ฯลฯ
๒) ภาษาพูดมักจะออกเสียงไม่ตรงกับภาษาเขียน คือ เขียนอย่างหนึ่งเวลาออกเสียงจะเพี้ยนเสียงไปเล็กน้อย ส่วนมากจะเป็นเสียงสระ เช่น
ภาษาเขียน – ภาษาพูด ภาษาเขียน – ภาษาพูด ภาษาเขียน - ภาษาพูด
ฉัน ชั้น เขา เค้า ไหม ไม้(มั้ย)
เท่าไร เท่าไหร่ หรือ หรอ,เร้อะ แมลงวัน แมงวัน
สะอาด ซาอาด มะละกอ มาลากอ นี่ เนี่ยะ
๓) ภาษาพูดสามารถแสดงอารมณ์ของผู้พูดได้ดีกว่าภาษาเขียน คือ มีการเน้นระดับเสียงของคำให้สูง-ต่ำ-สั้น-ยาว ได้ตามต้องการ เช่น
ภาษาเขียน – ภาษาพูด ภาษาเขียน – ภาษาพูด ภาษาเขียน – ภาษาพูด
ตาย ต๊าย บ้า บ๊า ใช่ ช่าย
เปล่า ปล่าว ไป ไป๊ หรือ รึ(เร้อะ)
ลุง ลุ้ง หรอก หร้อก มา ม่ะ
๔) ภาษาพูดนิยมใช้คำช่วยพูดหรือคำลงท้าย เพื่อช่วยให้การพูดนั้นฟังสุภาพและไพเราะยิ่งขึ้น เช่น ไปไหนคะ ไปตลาดค่ะ รีบไปเลอะ ไม่เป็นไรหรอก นั่งนิ่งๆ ซิจ๊ะ
๕) ภาษาพูดนิยมใช้คำซ้ำ และคำซ้อนบางชนิด เพื่อเน้นความหมายของคำให้ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น
คำซ้ำ ดี๊ดี เก๊าเก่า ไปเปย อ่านเอิ่น ผ้าห่มผ้าเหิ่ม กระจกกระเจิก อาหงอาหาร
คำซ้อน มือไม้ ขาวจั้ะ ดำมิดหมี แข็งเป็ก เดินเหิน ทองหยอง
ที่มา:www.jd.in.th/e_learning/media/kanarn/Text402110.doc

ไม่มีความคิดเห็น: